ศาลพระภูมิในบ้าน เป็นเหมือนการพึ่งพาสิ่งศักดิ์สิทธิ์เพื่อให้ช่วยปกป้องคุ้มครอง และดูแลทุกคนในบ้านให้สามารถอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข แถมยังเชื่อว่าการตั้งศาลพระภูมิจะช่วยเสริมโชคลาภ ความเจริญรุ่งเรืองในชีวิต และเป็นการตั้งศาลเพื่อความสบายใจของผู้อยู่อาศัยอีกด้วย ซึ่งในบทความนี้จะพามาดูเคล็ดลับในการบูชาศาลพระภูมิ บูชาอย่างไรให้ชีวิตรุ่งเรือง!
ความตั้งใจและความศรัทธา
สิ่งสำคัญในการบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์เพื่อความเป็นสิริมงคลหรือเพื่อความเจริญรุ่งเรืองในชีวิต คงปฏิเสธไม่ได้เลยว่าจะต้องเริ่มจากความศรัทธาและความตั้งใจที่จะบูชาอย่างแท้จริง ซึ่งในการบูชาศาลพระภูมินั้น จะต้องมีความตั้งใจในการจัดเตรียมของไหว้บูชา การดูแลรักษาศาลพระภูมิให้สะอาดอยู่เสมอ รวมถึงการไหว้บูชาตามวาระสำคัญต่าง ๆ เพื่อเป็นการแสดงความเคารพนับถือ
แน่นอนว่าไม่ใช่แค่ความตั้งใจและความศรัทธาในการเคารพบูชาเท่านั้น แต่ความตั้งใจดังกล่าวต้องเริ่มตั้งแต่การตั้งศาลพระภูมิ ซึ่งจะต้องมีการตั้งศาลพระภูมิให้ถูกวิธีตามความเชื่อ และมีการทำพิธีอย่างถูกต้องตามขั้นตอน ที่สำคัญ จะต้องเตรียมอุปกรณ์ในการตั้งศาลพระภูมิให้ครบด้วยเช่นกัน
(อ่านเพิ่มเติม: วิธีตั้งศาลพระภูมิ พร้อมอุปกรณ์ตั้งศาลพระภูมิ มีอะไรบ้าง)
การเตรียมสถานที่สำหรับบูชาศาลพระภูมิ
ในการจัดตั้งศาลพระภูมิ สิ่งที่ต้องให้ความสำคัญไม่แพ้ขั้นตอนอื่น ๆ นั่นคือการเตรียมสถานที่สำหรับบูชาศาลพระภูมินั่นเอง ซึ่งเจ้าของบ้านและผู้อยู่อาศัยจะต้องศึกษาการตั้งศาลพระภูมิให้ถี่ถ้วนก่อนเริ่มทำพิธีการ โดยมีข้อควรรู้และข้อห้ามสำหรับการเตรียมสถานที่ในการตั้งศาลพระภูมิ ดังนี้
- ยกพื้นของศาลพระภูมิ ห้ามอยู่บนพื้นเดียวกับตัวบ้าน
- เว้นระยะห่างในการตั้งศาลพระภูมิจากตัวบ้านเล็กน้อย และไม่ตั้งไว้บริเวณห้องน้ำ รวมถึงบริเวณที่มีถังขยะหรือบ่อน้ำทิ้ง
- ควรตั้งศาลพระภูมิในที่โล่งแจ้ง จะต้องเป็นพื้นที่ที่ไม่มีเงาของต้นไม้และตัวบ้านพาดลงมาบดบัง
หากใครที่ไม่มั่นใจเกี่ยวกับการตั้งศาลพระภูมิ กังวลว่าจะตั้งไม่ถูกต้องตามหลัก หรืออาจจะเตรียมของสำหรับตั้งศาลพระภูมิไม่ครบถ้วน แนะนำให้เลือกใช้บริการ เมืองราชศาลพระภูมิ ร้านขายศาลพระภูมิที่มีบริการจำหน่าย ติดตั้ง และบริการเกี่ยวกับศาลพระภูมิโมเดิร์น ศาลเจ้าที่ ศาลพระพรหมแบบครบวงจร เพื่อความสะดวกสบายของเจ้าของบ้าน แถมยังสามารถวางใจได้เลยว่าจะได้รับการดูแลอย่างใส่ใจทุกขั้นตอนจากทีมงานผู้เชี่ยวชาญ
คำกล่าวบูชาศาลพระภูมิ
คำกล่าวบูชาหรือบทสวดบูชาศาลพระภูมิจะประกอบไปด้วย 3 บทสวด ดังนี้
บทสวดที่ 1
“นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ” (3 จบ)
บทสวดที่ 2 คาถาบูชาศาลพระภูมิ (พระชัยมงคล)
“ภูมมัสมิง ทิสาภาเค สันติภูมมา มหิทธิกา เตปิตุมเห อนุรักขันตุ อาโรคเยนะ สุเขนะจะ” (3 จบ)
บทสวดที่ 3 คาถาขอพรจากพระภูมิ
“สิโรเม ขอเดชะ พระภูมิเทวารักษาที่ รับพระพรจากเจ้ากรุงพาลีมา ให้วัฒนาถาวร สิ่งสุข แด่ (ชื่อ-นามสกุล) ให้มั่งมีเงินทอง และทรัพย์พัสดุข้าวของเนืองนอง ทั้งพร้อมพงศ์เผ่าบริวาร บุตรหลานเหลนลื้อบันลือ สาธุชนซ้องสรรเสริญ โสตถิ ชัยะ ภะวันตุ เม”
ฤกษ์ยามดีในการบูชาศาลพระภูมิ
เชื่อว่าหลายคนอาจจะมีข้อสงสัยว่าในการบูชาศาลพระภูมิ จำเป็นต้องมีฤกษ์ยามดีในการไหว้บูชาหรือไม่ หรือสามารถไหว้ได้ตามวันและเวลาที่สะดวกได้เลย? ซึ่งปกติแล้ว การไหว้บูชาศาลพระภูมิ มักจะทำทุกวันพระ วันอังคาร วันเสาร์ รวมถึงวันสำคัญต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น วันเกิด หรือวันนักขัตฤกษ์
ไหว้บูชาศาลพระภูมิใช้ธูปกี่ดอก
อีกหนึ่งคำถามยอดฮิตสำหรับผู้ที่ต้องการไหว้บูชาศาลพระภูมิ นั่นคือจำนวนธูปที่ใช้ในการไหว้ ซึ่งสำหรับการไหว้บูชาศาลพระภูมิจะต้องใช้ธูปจำนวน 9 ดอก เพื่อเป็นการบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ แถมยังเป็นเลขมงคลตามความเชื่อของคนไทยอีกด้วย
นอกจากจะได้ทราบว่าการไหว้ศาลพระภูมิ จำเป็นต้องใช้ธูปจำนวน 9 ดอก ในบทความนี้จะบอกต่อความหมายของธูปแต่ละดอก ว่าใช้ในการไหว้อย่างไรบ้าง
- ธูปจำนวน 1 ดอก ใช้ในการไหว้ผีบ้านผีเรือน และความเชื่อเกี่ยวกับวิญญาณ
- ธูปจำนวน 3 ดอก ใช้ในการบูชา พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
- ธูปจำนวน 5 ดอก ใช้ในการไหว้ศาลเจ้าที่ พระรัตนตรัย ธาตุทั้งห้า หรือทิศทั้งห้า
- ธูปจำนวน 7 ดอก ใช้ในการไหว้ศาลเจ้าพ่อ ศาลเจ้าแม่ ครูบาอาจารย์ที่เสียชีวิต
- ธูปจำนวน 9 ดอก ใช้ในการไหว้ศาลพระภูมิ ศาลเทพ เจ้าป่า เจ้าเขา
- ธูปจำนวน 12 ดอก ใช้ในการไหว้บูชาพระราหู และใช้สำหรับการสวดเสริมดวง สำหรับคนที่เกิดวันพุธกลางคืน
บทสรุป
การบูชาศาลพระภูมิ เป็นความเชื่อที่มีการสืบต่อกันมาเป็นเวลานาน และการตั้งศาลพระภูมิไว้ที่บ้าน สถานประกอบการ หรือสถานที่ต่าง ๆ ก็เป็นสิ่งที่อยู่คู่กับคนไทยมาอย่างช้านานแล้วเช่นเดียวกัน หากต้องการบูชาศาลพระภูมิเพื่อให้ชีวิตมีความเจริญรุ่งเรืองมากยิ่งขึ้น ก็จะต้องมีการศึกษารายละเอียดต่าง ๆ เกี่ยวกับการบูชาศาลพระภูมิ ไม่ว่าจะเป็น การจัดเตรียมสถานที่ตั้งศาลพระภูมิ คำกล่าวบูชาศาลพระภูมิ และจำนวนธูปที่ต้องใช้ เป็นต้น