ในปัจจุบัน เทคโนโลยีและนวัตกรรมต่าง ๆ ถูกพัฒนาและยกระดับขึ้นอย่างมาก จนนำโลกให้ก้าวเข้าสู่ยุคเทคโนโลยีอย่างเต็มตัว แต่กระนั้น ศาสนา พิธีกรรม และความเชื่อยังคงมาอยู่ไม่น้อยลงไปเลยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ซึ่งหากพูดกันตามตรงแล้ว เทคโนโลยีช่วยทำให้ประชากรโลกเข้าสู่ยุคใหม่ แต่ความเชื่อเป็นสิ่งที่ทำให้ผู้นับถือมีสิ่งที่ยึดเหนี่ยวจิตใจในการใช้ชีวิต จึงไม่แปลกเลยที่เรื่องลี้ลับและความเชื่อต่าง ๆ ยังคงมีอยู่ในปัจจุบัน
โดยบทความนี้เราจะพาไปทำความรู้จักและทำความเข้าใจเกี่ยวกับพิธีกรรม หรือพิธีบวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์กันให้มากขึ้นว่าคืออะไร ทำไมถึงต้องทำ ไปจนถึงขั้นตอนและกระบวนการสำคัญสำหรับพิธีบวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เพื่อสร้างการรับรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับพิธีกรรม ความเชื่อ และศาสนาให้ถ่องแท้นั่นเอง
พิธีบวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ คืออะไร?
ตั้งแต่สมัยโบราณ ตามความเชื่อทางศาสนาพุทธแล้ว พิธีบวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์คือการแสดงความยอมรับนับถือต่อผู้ที่มีพระคุณยิ่งใหญ่ในชีวิต มีพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ พระปัจเจกพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ พระอริยสงฆ์สาวก เทพไท้เทวา คุณบิดามารดา อาจารย์ทุกๆพระองค์ ทุกๆชาติ รวมทั้งพระภูมิเจ้าที่ ท่านท้าวจาตุรมหาราชทั้ง ๔ ท่านพระยายมราช เคารพท่านผู้เป็นใหญ่ใน ทั้ง ๓ โลก
อย่างไรก็ตาม ความหมายของพิธีบวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ทำสืบต่อกันมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันนั้นมีความแตกต่างกันออกไปตามจุดประสงค์ แต่หลัก ๆ แล้วเป็นการแสดงความนับถือ และบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เจ้าที่เจ้าทาง หรือเทวดาอารักษ์ เพื่อให้การประกอบกิจการหรือการทำกิจกรรมต่าง ๆ ลุล่วงไปได้ด้วยนี่นั่นเอง
ประเภทของพิธีบวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่มากกว่าการขอพร
ตามจริงแล้ว พิธีบวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ไม่มีการแบ่งแยกประเภทที่ตายตัวหรือเฉพาะทาง แต่กระนั้น หากแบ่งประเภทตามวัตถุประสงค์ในการประกอบพิธีบวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ โดยแบ่งได้เป็น 4 ประเภทหลัก ๆ ดังต่อไปนี้
เพื่อความเป็นสิริมงคล
เป็นการบวงสรวง เพื่อให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์หรือเทวดาต่าง ๆ ที่นับถือให้ดลบันดาล เกิดความเป็นสิริมงคลแก่ตนเองและครอบครัว ยกตัวอย่างเช่น พิธีบวงสรวงเปิดกิจการ พิธีบวงสรวงขึ้นบ้านใหม่ และพิธีบวงสรวงวันขึ้นปีใหม่ เป็นต้น
(อ่านเพิ่มเติม : 7 วิธีขึ้นบ้านใหม่ด้วยตัวเอง พร้อมกับของที่ต้องเตรียม)
เพื่อการขอขมาโทษ
ในกรณีที่เคยก้าวล่วงหรือทำผิดต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ จะทำการบวงสรวงเพื่อขอขมาโทษ ไม่ว่าจะเป็นพิธีบวงสรวงขอขมาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำบ้าน หรือในบางกรณีที่ต้องการลื้อถอนศาลก็จำเป็นต้องทำพิธีบวงสรวงขอขมาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ด้วยเช่นเดียวกัน
เพื่อขอพรให้สำเร็จลุล่วง
ถือได้ว่าจุดประสงค์นี้เป็นปัจจัยหลักเลยก็ว่าได้สำหรับพิธีบวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เพื่อขอพรให้การกระทำหรือกิจกรรมใด ๆ ก็ตามประสบความสำเร็จ เช่น พิธีบวงสรวงก่อนออกเดินทางไกล พิธีบวงสรวงเปิดการแข่งขัน หรือพิธีบวงสรวงก่อนสอบ เป็นต้น
เพื่ออุทิศส่วนบุญส่วนกุศล
พิธีบวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เพื่ออุทิศส่วนบุญ ส่วนกุศลที่ตนเองเคยสร้างไว้ให้แก่ผู้ล่วงลับไปแล้ว หรือให้แก่สิ่งศักดิ์สิทธิ์ เจ้าที่ เทวดา เช่น พิธีบวงสรวงวันสงกรานต์ พิธีบวงสรวงวันสารทเดือนสิบ หรือพิธีบวงสรวงวันลอยกระทง
องค์ประกอบหลักที่ขาดไปไม่ได้สำหรับพิธีบวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์
ไม่เพียงแต่ขั้นตอนและการดำเนินพิธีบวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์เท่านั้นที่สำคัญ เพราะยังคงมีองค์ประกอบอื่น ๆ อีกที่สำคัญไม่แพ้กัน โดยแบ่งองค์ประกอบออกเป็น 3 ส่วนด้วยกัน ได้แก่ สถานที่ เครื่องบูชา และพิธีกรรม ดังนั้นแล้ว เรามาดูกันดีกว่าว่าองค์ประกอบแต่ละส่วนเป็นอย่างไรบ้าง เพื่อให้การประกอบพิธีบวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ดำเนินการลุล่วงไปได้ด้วยดี
สถานที่
การเลือกสถานที่สำหรับพิธีบวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์นั้นจำเป็นต้องเน้นไปที่ด้านความสะอาดเป็นหลัก อีกทั้งยังควรเป็นสถานที่ที่มีความสงบ ร่มเย็น เหมาะสำหรับการประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ
เครื่องบูชา
เครื่องบวงสรวงหรือเครื่องบูชาที่ขาดไปไม่ได้สำหรับการถวายแด่สิ่งศักดิ์สิทธิ์คือ ข้าวตอก ดอกไม้ ธูป เทียน เป็นต้น รวมถึง 3 ส่วนที่สำคัญเช่นเดียวกัน ประกอบไปด้วย
- บายศรี : ภาชนะรูปทรงสูงที่ผลิตขึ้นมาจากใบตองหรือใบลาน นิยมใช้สำหรับการเป็นภาชนะใส่เครื่องบวงสรวง
- อาหารคาวหวาน : ส่วนใหญ่แล้วมักจะเลือกเป็นอาหารไทยพื้นบ้านและเนื้อสัตว์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น หมู เป็ด ไก่ ปลา หรือขนมไทย และผลไม้มงคล 9 อย่าง ความหมายดี ใช้ไหว้เจ้าที่และสิ่งศักดิ์สิทธิ์
- เครื่องดื่ม : นิยมเลือกน้ำชา น้ำนม และน้ำเปล่าเป็นหลัก แต่กระนั้น ควรเป็นน้ำเปล่าหรือน้ำดื่มสะอาด
พิธีกรรม
- การไหว้ครู : เป็นการไหว้และแสดงความเคารพต่อครูพราหมณ์หรือครูบาอาจารย์ต่าง ๆ ที่มีความรู้และเชี่ยวชาญด้านพิธีกรรมบวงสรวง
- การชุมนุมเทวดา : เป็นการเชิญชวนเหล่าสิ่งศักดิ์สิทธิ์และเทพยดาทั้งหลายมาชุมนุม ณ สถานที่บวงสรวง
- การบวงสรวง : เป็นการแสดงความเคารพนับถือและสักการะต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์
- การขอพร : เป็นการขอพรให้กิจกรรมประสบความสำเร็จและเกิดความเป็นสิริมงคล
นอกจาก 3 องค์ประกอบหลักที่กล่าวไปข้างต้นนี้แล้ว ยังคงมีรายละเอียดอื่น ๆ ที่เพิ่มเติมตามแต่ละพิธีบวงสรวงอยู่ ยกตัวอย่างเช่น การจุดประทัด การจุดโคมลอย หรือการปล่อยสัตว์ เป็นต้น ซึ่งจะเห็นได้ว่ามีรายละเอียดที่ค่อนข้างซับซ้อนยุ่งยาก จึงไม่ใช่ใครก็ได้ที่สามารถทำได้ เพราะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์มาอย่างยาวนาน
ซึ่งจะดีกว่าไหมหากให้เรา เมืองราชศาลพระภูมิ เป็นผู้บริการให้คำแนะและคำปรึกษาให้แก่ท่าน ด้วยผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์เกี่ยวกับศาลพระภูมิมาอย่างยาวนาน พร้อมบริการต่าง ๆ ที่ครบครัน ทั้งศาลพระพรหม ศาลพระภูมิ หรือศาลโมเดิร์น รับประกันได้เลยว่าสินค้าทุกชนิดของทางร้านมีคุณภาพ คุ้มค่า คุ้มราคาอย่างแน่นอน
บทสรุป
อย่างที่ทราบกันดีว่าพิธีกรรมหรือพิธีบวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์เป็นสิ่งที่อยู่คู่ประเทศไทยมาอย่างยาวนาน ซึ่งเป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อและความศรัทธาของประชาชนชาวไทย โดยเฉพาะผู้ที่นับถือศาสนาพุทธ พิธีบวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ยังเป็นการแสดงออกถึงความเคารพของผู้นับถือที่มีต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดีอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นเจ้าที่เจ้าทาง หรือเทวดา