การถวายสังฆทาน เป็นรูปแบบของการทำบุญตามความเชื่อของพุทธศาสนาที่เชื่อว่าเป็นการทำบุญทำทานที่ได้บุญมาก ได้อานิสงส์เต็ม ๆ ซึ่งหลายคนอาจจะยังมีความเข้าใจเกี่ยวกับการถวายสังฆทานว่าเป็นการถวายของให้กับพระภิกษุสงฆ์เท่านั้น แต่แท้จริงแล้ว หากต้องการถวายสังฆทานให้ได้รับบุญเต็ม ๆ และได้อุทิศส่วนบุญส่วนกุศลให้กับผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว จะต้องมีการเตรียมของถวายสังฆทาน รวมถึงรูปแบบของพิธีกรรม เพื่อความถูกต้องและเหมาะสมมากที่สุด
จุดประสงค์ของการถวายสังฆทาน คืออะไร
เชื่อว่าหลายคนคงทราบเกี่ยวกับการกราบไหว้บูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ การตั้งโต๊ะหมู่บูชา การตั้งศาลพระภูมิ ศาลเจ้าที่ ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นพิธีกรรมที่แสดงออกถึงความเชื่อ ความเคารพนับถือต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่มีมาอย่างยาวนานในสังคมไทยและในหลาย ๆ วัฒนธรรม ซึ่งแน่นอนว่าหากรู้จักพิธีกรรมต่าง ๆ ที่กล่าวไปข้างต้นแล้ว คงจะต้องรู้จักการถวายสังฆทาน ซึ่งเป็นการทำทานที่ได้บุญมาก และปฏิบัติสืบต่อกันมาอย่างช้านานเช่นเดียวกัน
การถวายสังฆทาน คือ พิธีกรรมทางพุทธศาสนาที่เป็นการถวายสิ่งของแก่หมู่พระภิกษุสงฆ์ โดยไม่จำเพาะเจาะจง ซึ่งจะต้องเตรียมของถวายสังฆทานที่ครบถ้วนและเหมาะสม โดยจะมีทั้งคำถวายสังฆทานและบอกชื่อของผู้ตนเองและผู้ที่ต้องการอุทิศให้ โดยปกติแล้วมักจะมีการถวายสังฆทานก่อนช่วงฉันเพล ในเวลา 11.00 น.
เตรียมของถวายสังฆทานอย่างไรให้ถูกต้อง
โดยปกติแล้ว ในการถวายสังฆทานจะเป็นการเตรียมจตุปัจจัยหรือของถวายที่มีความจำเป็นสำคัญภิกษุสามเณร ดังนี้
- ผ้าไตรจีวร
- ยารักษาโรค ยาสามัญประจำบ้าน
- หนังสือธรรมะ อุปกรณ์การเรียนสำหรับเรียนพระปริยัติธรรม
- ของใช้ส่วนตัว เช่น สบู่ แปรงสีฟัน มีดโกน
- อุปกรณ์ไฟฟ้าหรือเครื่องใช้ไฟฟ้า
- ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด เช่น น้ำยาล้างจาน ไม้กวาด
- ของบริโภค ได้แก่ อาหารแห้งและเครื่องดื่ม
คำถวายสังฆทานที่ควรรู้ (พร้อมคำแปล)
สิ่งสำคัญที่ควรรู้ไม่น้อยไปกว่าความหมายและการเตรียมของถวายสังฆทาน นั่นคือคำถวายสังฆทานในพิธีนั่นเอง ซึ่งคำถวายสังฆทานทั่วไปมักจะใช้กล่าวในโอกาสสำคัญ เช่น วันเกิด วันสำคัญต่าง ๆ หรือวันเริ่มต้นกิจการใหม่ เป็นต้น โดยจะมีอีกหนึ่งชื่อเรียก คือคำถวายสังฆทานสามัญ ซึ่งเป็นคำถวายให้กับตัวเองหรือคนที่มีชีวิตอยู่ เริ่มต้นจากคำบูชาพระรัตนตรัย คำกล่าวอาราธนาศีล ตามด้วยนะโม 3 จบ แล้วจึงกล่าวคำถวายสังฆทานทั่วไป ดังต่อไปนี้
“อิมานิ มะยัง ภันเต ภัตตานิ สะปะริวารานิ ภิกขุสังฆัสสะ โอโณชะยามะ สาธุ โน ภันเต ภิกขุ สังโฆอิมานิ ภัตตานิ สะปะริวารานิ ปฏิคคัณหาตุ อัมหากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ”
คำแปลคำถวายสังฆทานทั่วไป คือ ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลายขอน้อมถวายภัตตาหาร กับทั้งบริวารทั้งหลายเหล่านี้แด่พระสงฆ์ ขอพระสงฆ์จงรับภัตตาหาร กับทั้งบริวารทั้งหลายเหล่านี้ของข้าพเจ้าทั้งหลายเพื่อประโยชน์สุข แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย ตลอดกาลนานเทอญ สาธุ
คำถวายสังฆทานอุทิศส่วนกุศล (พร้อมคำแปล)
นอกจากคำถวายสังฆทานทั่วไปแล้ว ในการถวายสังฆทานนั้นยังมีคำถวายที่มอบให้แก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว ซึ่งก็จะมีขั้นตอนที่ใกล้เคียงกับพิธีถวายสังฆทานทั่วไป แต่จะมีเพียงบทสวดหรือคำถวายเท่านั้นที่แตกต่างกัน ดังนี้
“อิมานิ มะยัง ภันเต มะตะกะภัตตานิ สะปะริวารานิ ภิกขุสังฆัสสะ โอโณชะยามะ สาธุโนภันเต ภิกขุสังโฆ
อิมานิ มะตะกะภัตตานิ สะปะริวารานิ ปะฏิคัณหาตุ อัมหากัญเจวะ มาตาปิตุอาทีนัญจะ ญาตะกานัง กาละกะตานัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ”
คำแปลคำถวายสังฆทานอุทิศส่วนกุศล คือ ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลายขอน้อมถวายมะตะกะภัตตาหาร กับทั้งบริวารทั้งหลายเหล่านี้แด่พระภิกษุสงฆ์ ขอพระภิกษุสงฆ์จงรับมะตะกะภัตตาหาร กับทั้งบริวารทั้งหลายเหล่านี้ของข้าพเจ้าทั้งหลาย เพื่อประโยชน์สุขแก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย และญาติของข้าพเจ้าทั้งหลาย มีบิดามารดา ปู่ย่า ตายาย ญาติสนิทมิตรสหาย ทั้งผู้ที่มีญาติและไม่มีญาติที่ได้ล่วงลับไปแล้ว ตลอดกาลนานเทอญ สาธุ
บทสรุป
หากต้องการถวายสังฆทานให้ถูกต้องตามหลักความเชื่อและได้รับบุญมากที่สุด บอกได้เลยว่าข้อมูลต่าง ๆ ที่เราได้รวบรวมมาไว้ในบทความนี้มีความสำคัญอย่างมาก ไม่ว่าจุดประสงค์ในการถวายสังฆทานจะเป็นการถวายเพื่อตัวเองหรืออุทิศให้กับผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว หากต้องการเสริมบุญกุศลจากการทำทานในครั้งนี้ให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด จะต้องมีการเตรียมของถวายให้ครบถ้วนและเหมาะสม มีจิตใจที่ตั้งมั่นในการทำบุญ รวมถึงใส่ใจในทุกขั้นตอนกระบวนการด้วยเช่นกัน
สำหรับใครที่ต้องการคำแนะนำเกี่ยวกับการประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ อย่างถูกต้องตามหลักความเชื่อ ไม่ว่าจะเป็น การตั้งศาลพระภูมิ ศาลเจ้าที่ ศาลพระภูมิโมเดิร์น ศาลพระพรหม หรือแม้แต่การประกอบพิธียกเสาเอก เสาโท บอกได้เลยว่า เมืองราชศาลพระภูมิ ตอบโจทย์ทุกความต้องการของคุณอย่างแน่นอน เพราะมีทั้งพราหมณ์ผู้เชี่ยวชาญและทีมงานที่มีความรู้มากประสบการณ์ ภายใต้แนวคิด “ทุกความศรัทธาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ให้เราเป็นเพื่อนคู่คิดและดูแล”