พิธีฌาปนกิจ เปรียบเสมือนการบอกลาครั้งสุดท้ายให้กับผู้ล่วงลับไปแล้ว เพราะเชื่อว่าในงานพิธีฌาปนกิจศพและมีการเผาแล้ว ถือว่าการจากลานั้นสมบูรณ์แล้ว ซึ่งเป็นพิธีที่เกิดขึ้นตามความเชื่อหรือวิธีปฏิบัติในแต่ละพื้นที่ แต่ละภูมิภาค สะท้อนทั้งวัฒนธรรม ความเชื่อ ความสัมพันธ์ของครอบครัว ญาติพี่น้อง เพื่อนฝูง และสะท้อนถึงวิถีชีวิตของผู้คน แถมยังเป็นพิธีที่อยู่คู่กับสังคมไทยมาอย่างยาวนาน
โดยในบทความนี้ เราจะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับพิธีฌาปนกิจ ซึ่งเป็นงานที่มีความสำคัญอย่างมากในสังคม รวมถึงบอกต่อข้อปฏิบัติต่าง ๆ ในพิธีฌาปนกิจศพ รวมถึงขั้นตอนการจัดงาน การประกอบพิธีอย่างถูกต้องตามหลักความเชื่อมากที่สุด
พิธีฌาปนกิจ คืออะไร
พิธีฌาปนกิจ หรือที่เรียกว่างานเผาศพ หรือพิธีกรรมการเผาศพ ซึ่งเป็นพิธีกรรมที่มีความสำคัญและสืบเนื่องกันมาอย่างยาวนานในสังคมไทย เนื่องจากเป็นงานที่จะเป็นการบอกลาครั้งสุดท้ายระหว่างผู้ที่ล่วงลับไปแล้วและผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่ โดยปกติแล้ว ในงานศพจะประกอบไปด้วย 3 พิธี ได้แก่
- พิธีรดน้ำศพ
- พิธีสวดอภิธรรม
- พิธีฌาปนกิจ
ความสำคัญของพิธีฌาปนกิจในสังคมไทย
พิธีฌาปนกิจ เป็นพิธีกรรมที่มีความเชื่อมโยงกับทั้งความเชื่อทางศาสนา ซึ่งในประเทศไทยก็มีการทำพิธีกรรมต่าง ๆ เพื่อแสดงความเคารพต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์มากมาย ตั้งแต่การไหว้ศาลเจ้าที่ ศาลพระภูมิที่ตั้งอยู่ที่บ้านหรือหอพัก ไปจนถึงการทำพิธีกรรมเพื่อบูชาทวยเทพหรือเทวดา และการบรวงสรวงต่าง ๆ เช่น บวงสรวงเริ่มต้นกิจการ หรือบวงสรวงไหว้ครู-ครอบครู ซึ่งพิธีต่าง ๆ เหล่านี้ เชื่อกันว่ามีขึ้นเพื่อเสริมโชคลาภและความเป็นสิริมงคลมาอย่างยาวนาน
ซึ่งในการจัดพิธีฌาปนกิจในสังคมไทยนั้น เชื่อกันว่าจะสามารถปลดปล่อยวิญญาณจากร่างกาย เพื่อให้ผู้ที่ล่วงลับไปแล้วได้เดินทางไปสู่โลกหน้าได้อย่างสงบ ไม่มีการผูกมัดหรือฉุดรั้งใด ๆ เอาไว้ แถมยังเป็นขนบธรรมเรียนประเพณีและวัฒนธรรมที่มีความสำคัญสำหรับคนไทยในทุกยุค ทุกสมัย เพื่อให้ทุกคนตระหนักถึงความตายอยู่เสมอ เพราะความตายอยู่ใกล้มนุษย์เรามากกว่าที่คิด และชีวิตคือความไม่เที่ยง ควรจะใช้ชีวิตในทุก ๆ วันอย่างที่ต้องการและคุ้มค่าเหมาะสมมากที่สุด
ข้อปฏิบัติที่เหมาะสมสำหรับพิธีฌาปนกิจ
ในการเข้าร่วมพิธีฌาปนกิจ หรืองานศพ เป็นพิธีที่มีความสำคัญและเป็นการแสดงความเคารพต่อผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว จึงต้องมีการปฏิบัติอย่างเหมาะสม รวมถึงการเลือกวันและเวลาที่เป็นมงคล ดังนี้
การแต่งกายที่เหมาะสม
เมื่อพูดถึงการไปงานศพหรือพิธีฌาปนกิจศพ เชื่อว่าทุกคนจะนึกถึงสีขาวและสีดำ เนื่องจากการแต่งกายที่เหมาะสมสำหรับการไปงานศพคือการสวมเสื้อผ้าสีดำหรือสีขาว รวมถึงชุดยูนิฟอร์มที่มีความสุภาพ เพื่อเป็นการให้เกียรติเจ้าภาพนั่นเอง
วันและเวลาที่ไม่เป็นมงคล
หากพูดถึงวันและเวลาที่ไม่เป็นมงคล ไม่ควรใช้ในการประกอบพิธีฌาปนกิจศพ ได้เแก่ วันพระ วันอังคาร และเก้ากอง เชื่อกันว่าหากมีการเผาศพในวันเก้ากองเพราะจะทำให้มีคนตายติดกัน ซึ่งเป็นความเชื่อของทางล้านนาตั้งแต่สมัยอดีต
ที่นั่งในงานพิธี
โดยปกติแล้ว การนั่งในงานพิธีฌาปนกิจนั้น ส่วนใหญ่ในที่นั่งแถวแรก ๆ จะเป็นที่นั่งของเจ้าภาพและประธาน ผู้เข้าร่วมงานสามารถเลือกแถวกลาง ๆ ในลำดับถัดมา หรือเข้าไปนั่งตามที่มีเจ้าภาพหรือมีคนแนะนำหรือได้จัดที่นั่งไว้ให้แล้ว แต่ก็จะขึ้นอยู่กับแต่ละพื้นที่ แต่ละงานพิธีด้วยเช่นกัน
พิธีฌาปนกิจศพ มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง
ขั้นตอนในการจัดพิธีฌาปนกิจ ต้องมีการจัดเตรียมทั้งสถานที่ วัน เวลา และกระบวนการจัดงานให้พร้อม เพื่อเป็นเกียรติต่อเจ้าภาพและผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว ซึ่งในการจัดพิธีฌาปนกิจนั้นจะต้องมีขั้นตอนต่าง ๆ ดังนี้
- เตรียมสถานที่ เตรียมวัดให้พร้อม และสอบถามเกี่ยวกับวัฒนธรรมการจัดงานศพของพื้นที่นั้น ๆ ให้ดี
- นิมนต์พระสงฆ์ จากนั้นให้เตรียมจตุปัจจัยไทยธรรม ผ้าไตร หรือสงบ และเครื่องกัณฑ์เทศน์ให้พร้อม
- เตรียมผ้าไตรที่จะต้องใช้บนเมรุ สำหรับพิธีจุดไฟฌาปนกิจศพ
- เตรียมรายชื่อของผู้ที่ต้องทอดผ้าบังสุกุลบนเมรุ รวมถึงผู้ที่จะเป็นประธานในพิธี
บทสรุป
การเข้าร่วมงานในพิธีฌาปนกิจหรืองานศพ เป็นการแสดงความเคารพและให้เกียรติผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว ซึ่งเป็นงานที่มีผลต่อทั้งความเชื่อของผู้คนและความสำคัญทางศาสนา เพราะเชื่อว่าจะสามารถปลดปล่อยดวงวิญญานให้สามารถไปสู่โลกหน้าได้อย่างสงบ เรียกได้ว่าการจัดพิธีฌาปนกิจเป็นพิธีกรรมที่มีความสำคัญและมีคุณค่าทางวัฒนธรรม ผู้คนในยุคสมัยนี้จึงรักษาให้มีการสืบเนื่องกันต่อไป
นอกจากพิธีฌาปนกิจแล้ว หากใครที่กำลังจะจัดทำพิธีกรรมเพื่อแสดงความเคารพสิ่งศักดิ์สิทธิ์ รวมถึงการตั้งศาลพระภูมิ ศาลเจ้าที่ ศาลพระพรหม สามารถติดต่อได้ที่ “เมืองราชศาลพระภูมิ” เพราะนอกจากจะเป็นร้านขายศาลพระภูมิเจ้าที่ ศาลโมเดิร์น ยังมีบริการให้คำปรึกษา แนะนำการประกอบพิธีต่าง ๆ อย่างถูกต้องตามหลักความเชื่อ โดยพราหมณ์ผู้เชี่ยวชาญและทีมงานมืออาชีพมากมาย