การไหว้เจ้าที่เป็นสิ่งที่ยังทำกันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน แม้ว่าโลกจะเข้าสู่ยุควิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างเต็มตัว แต่กระนั้น ก็ยังมีกลุ่มคนจำนวนไม่น้อยที่ยังไหว้เจ้าที่เพื่อขอขมาหรือขอพร ซึ่งสิ่งนี้ไม่ใช่สิ่งที่ผิด แต่เพื่อป้องกันการงมงายจนไม่มีสติ ควรใช้สติและวิจารณญาณให้รอบคอบ รวมทั้งควรศึกษาและทำความเข้าใจวิธีการไหว้เจ้าที่แบบถูกวิธีตามขนบธรรมเนียมที่สืบต่อกันมาตั้งแต่อดีต
ทำไมต้องไหว้เจ้าที่?
ตามความเชื่อของชาวพุทธ การไหว้เจ้าที่เป็นการแสดงความเคารพต่อเจ้าของที่ที่เคยอยู่มาก่อน รวมทั้งเทพารักษ์ เพื่อขอความคุ้มครองให้แก่ผู้อยู่อาศัยและปกปักษ์รักษาบ้านเรือนให้ร่มเย็นเป็นสุข อีกทั้งการไหว้เจ้าที่ยังเป็นการอธิษฐานขอพรสิ่งที่ต้องการและส่งเสริมความเป็นสิริมงคลในชีวิตอีกด้วย
อย่างไรก็ตาม การไหว้เจ้าที่เป็นความเชื่อทางศาสนา แม้ว่าจะเป็นการไหว้เจ้าที่เหมือนกันและจุดประสงค์เดียวกัน แต่ความแตกต่างก็ยังมีอย่างชัดเจนในแต่ละพื้นที่หรือจังหวัด ดังนั้นแล้ว ก่อนไหว้เจ้าที่ควรศึกษาธรรมเนียมที่คนในพื้นที่ปฏิบัติกันอย่างยาวนาน เพื่อทำตามขนบธรรมเนียมเดิม
(อ่านเพิ่มเติม : ไหว้เจ้าที่ปี 2567 อย่างไรให้ช่วยเสริมความเฮง)
ขั้นตอนการไหว้เจ้าที่
หลักการและขั้นตอนการไหว้เจ้าที่และศาลพระภูมิเหมือนกัน ไม่ว่าจะเป็นศาลพระภูมิโมเดิร์นหรือทรงไทย ก็มีการไหว้ที่เหมือนกัน ซึ่งขั้นตอนและวิธีการไหว้เจ้าที่อาจจะแตกต่างกันออกไปตามแต่ละพื้นที่ แต่กระนั้น ขั้นตอนหลัก ๆ ประกอบไปด้วยดังนี้
- เริ่มต้นด้วยการทำความสะอาดพื้นที่รอบ ๆ
- หากมีของไหว้ให้นำไปวางไว้บนโต๊ะ หรือพื้นที่ที่เตรียมไว้ พร้อมกับจัดของไหว้ที่นำมาให้เป็นระเบียบเรียบร้อย
- เมื่อเรียบร้อยแล้วให้เริ่มจุดเทียน จากนั้นตามด้วยธูป
- ทำการตั้งจิตและนะโมสามจบก่อนจะเริ่มขออธิษฐานหรือขอพร
- หลังจากอธิษฐานจบ กราบลงและนำธูปเทียนไปปัก แล้วกราบลาอีกหนึ่งครั้งก็เป็นอันเสร็จสิ้น
ไหว้เจ้าที่ต้องเตรียมอะไรบ้าง
การไหว้เจ้าที่นอกจากธูปเทียนแล้ว ควรเตรียมของไหว้ไว้ด้วยเช่นกัน ซึ่งการจัดเตรียมของไหว้ขึ้นอยู่กับความตั้งใจและความศรัทธา ไม่ได้มีของไหว้ที่พิเศษมากนัก แต่กระนั้น ของไหว้ที่คนส่วนใหญ่มักนิยมใช้กันดังต่อไปนี้
- น้ำเปล่าหรือน้ำชา เพื่อใช้แทนเป็นน้ำหยาด
- ดอกดาวเรือง
- หมากพลู
- ผ้าขาวบาง
- ผ้าไม้มงคล ซึ่งประกอบด้วยผลไม้มงคล 9 อย่าง ที่มีความหมายดี ใช้ไหว้เจ้าที่และสิ่งศักดิ์สิทธิ์
อย่างไรก็ตามของไหว้เจ้าที่ไม่ควรใช้ผลไม้ต้องห้าม ได้แก่ ละมุด มะเฟือง พุทรา เพราะความหมายของผลไม้ของต้นเหล่านี้มีความหมายค่อนข้างแย่ ซึ่งเชื่อว่าส่งผลให้เกิดอุปสรรคในชีวิตได้
ช่วงเวลาที่ดีที่สุดในการไหว้เจ้าที่
ตามปกติแล้ว การไหว้เจ้าไม่จำเป็นต้องไหว้ทุกวันหรือทุกอาทิตย์ ส่วนใหญ่แล้วนิยมไหว้เจ้าที่ทุก 3-6 เดือน ซึ่งการไหวเจ้าที่ไม่ได้มีวันและเวลาที่ตายตัวเป็นพิเศษ ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมและความสะดวกใจของแต่ละบุคคลเป็นหลัก แต่กระนั้น ตามความเชื่อแล้ว ช่วงเวลาที่ดีที่สุดในการไหว้เจ้าคือช่วงเช้า ตั้งแต่เวลา 09:00 – 12:00 น. โดยเฉพาะช่วง 08:39 – 10:09 น. ของวันเสาร์และวันอังคาร
โดยการไหว้เจ้าที่สามารถได้ทุกเดือนตามสะดวกและความต้องการ แต่ยกเว้นสองเดือนเท่านั้น คือ เดือนเมษายน ซึ่งเป็นเดือนแห่งความร้อน จึงไม่เหมาะสมกับการไหว้เจ้า และเดือนตุลาคม เพราะเป็นเดือนที่สัมภเวสีจะออกมาขอส่วนบุญ ส่งผลให้สองเดือนที่กล่าวมาไม่เป็นที่นิยมในการไหว้เจ้า
บทสรุป
การไหว้เจ้าที่สามารถทำได้ตามความสะดวกของแต่ละบุคคล แต่การเลือกช่วงเวลาในการไหว้เจ้าที่เป็นเรื่องที่ไม่ควรมองข้ามเช่นเดียวกัน ซึ่งหากเป็นไปได้ ควรเลือกช่วงเวลาที่ดีและเหมาะสมตามความเชื่อทางศาสนา อีกทั้งควรหลีกเลี่ยงช่วงเวลาต้องห้าม เพราะอาจส่งผลให้เกิดอุปสรรคและเรื่องร้ายในชีวิตได้
หากใครกำลังมองหาศาลพระภูมิเพื่อเปลี่ยนหรือตั้งไว้ที่บ้านหลังใหม่ เราแนะนำ เมืองราชศาลพระภูมิ ร้านขายศาลพระภูมิคุณภาพสูงสมราคา ไม่ว่าจะศาลพระภูมิเจ้าที่งานสี หรืออุปกรณ์ตกแต่งศาลพระภูมิอย่าง ตุ๊กตาตั้งศาล ซึ่งมาพร้อมกับการบริการที่ครอบคลุมสำหรับความต้องการของลูกค้า หากสนใจสามารถเข้าไปชมสินค้าได้ที่เว็บไซต์ หรือโทร 098-2600337, 061-4145158