การตั้งศาลตายาย ตั้งอย่างไรให้ถูกหลักความเชื่อของคนไทย

การตั้งศาลตายาย ตั้งอย่างไรให้ถูกหลักความเชื่อของคนไทย

ศาลตายาย หรือศาลเจ้าที่ ตามความเชื่อของคนไทยตั้งแต่ในอดีตเชื่อกันว่าเป็นสถานที่ของเจ้าของพื้นที่เดิมที่เคยอยู่อาศัยในสถานที่นั้นๆ มาก่อน โดยจะสามารถแบ่งได้เป็น เจ้าที่แท้ ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินเดิมที่ไม่ได้ไปเกิดใหม่ เลือกอาศัยและปกป้องอยู่ในพื้นที่หรือบ้านเดิม และเจ้าที่จร ซึ่งเป็นดวงวิญญาณเร่ร่อนอยู่แถวนั้น เมื่อเจ้าของเดิมจากไป จึงได้เข้ามาอยู่อาศัยต่อ

ศาลตายายคืออะไร?

ศาลตายายคือศาลเจ้าที่ ที่เชื่อกันว่ามีวิญญาณของผู้ล่วงลับ สิ่งสถิตอยู่ ซึ่งจะช่วยปกป้องคุ้มครองพื้นที่บริเวณนั้นให้สงบสุขร่มเย็น การไหว้ศาลตายายมีมาช้านาน มีหลักปฏิบัติที่สืบทอดกันมาเป็นธรรมเนียม (เรียนรู้เพิ่มเติม ศาลตายายคืออะไร จำเป็นต้องมีทุกบ้านหรือไม่)

ศาลตายายคู่กับศาลพระภูมิ

เชื่อว่าการวางศาลตายายไว้ควบคู่กับศาลพระภูมินั้น จะถือว่าเป็นการเสริมความมงคลให้กับที่อยู่อาศัยมากยิ่งขึ้น โดยจะต้องวางให้ศาลพระภูมิอยู่ทางซ้ายมือ และศาลตายายจะต้องตั้งอยู่ในระดับต่ำกว่าศาลพระภูมิเท่านั้น

 

การตั้งศาลตายาย ตั้งอย่างไรให้ถูกหลักความเชื่อของคนไทย

ตำแหน่งการตั้งศาลตายาย

เพราะเชื่อว่าการตั้งศาลตายาย เปรียบเสมือนการอัญเชิญดวงวิญญาณเก่าแก่ให้มาสถิตบนศาล เพื่อช่วยคุ้มครอง และดูแลเจ้าของบ้านในปัจจุบันและครอบครัวให้แคล้วคลาด ปลอดภัย ดังนั้นจึงควรเลือกพื้นที่ให้ดีและเหมาะสมที่สุด ดังนี้

  • ศาลจะต้องตั้งอยู่บริเวณพื้นที่กว้าง สะอาด และสบายตา 
  • ตั้งศาลออกมาให้ไกลจากตัวบ้าน โดยจะต้องไม่กีดขวางประตูอาคารและประตูรั้ว
  • ห้ามตั้งไปทางทิศตะวันตกโดยตรง
  • ให้ตั้งศาลไว้บนพื้นธรรมดา แต่ถ้าต้องการที่จะเสริมโชคลาภ สามารถทำได้โดยการวางแผ่นเงินหรือแผ่นทองไว้ใต้ศาลตายาย
  • ห้ามตั้งตรงกับประตูทางเข้าบ้าน ห้องน้ำ หรือใต้บันได เพราะอาจเกิดผลไม่ดีตามมาได้
  • เลือกพื้นที่ให้ถูกทิศทาง โดยอาจจะทำการจ้างซินแส หรือหมอดูมาเพื่อดูฮวงจุ้ยได้

เครื่องตั้งศาลตายาย

  • ตุ๊กตาตา-ยาย / เจว็ดเจ้าที่
  • ตุ๊กตาบริวาร ได้แก่ บริวารชาย-หญิง นางรำ และช้าง ม้า
  • ผ้าสี และผ้าม่านศาล
  • พวงมาลัย
  • พวงมาลัยดาวเรืองดอกใหญ่ พวงมาลัยดาวเรืองดอกเล็ก 
  • โอ่งน้ำเงินทอง
  • เครื่องใช้ในพิธีลงเสาเอก ประกอบไปด้วย พลอยเก้าสี อิฐเงินทองนาค และไม้มงคล

ฤกษ์ตั้งศาลที่เป็นสิริมงคล

  • วันอาทิตย์ เวลา 06.09 – 08.19 น.
  • วันจันทร์ เวลา 08.19 – 10.39 น.
  • วันอังคาร เวลา 06.39 – 08.09 น.
  • วันพุธ เวลา 08.39 – 10.19 น.
  • วันพฤหัสบดี เวลา 10.49 – 11.39 น.
  • วันศุกร์ เวลา 06.19 – 08.09 น.
  • วันเสาร์ เวลา 08.49 – 10.49 น.

การไหว้ศาลตายาย

ซึ่งในแต่ละพื้นที่จะมีการตั้งของไหว้ศาลตายายต่างกันเล็กน้อย ขึ้นอยู่กับความเชื่อของแต่ละบุคคล แต่ก็จะมีของไหว้ที่ใช้กันอย่างทั่วไป ได้แก่

  • ดอกไม้ พวงมาลัย และ ธูปเทียน
  • หมาก พลู บุหรี่ หรือยาเส้น
  • น้ำเปล่า น้ำชา หรือน้ำแดง ส่วนใหญ่จะเห็นว่ามีการใช้น้ำแดงบ่อยๆ เพราะเป็นสีที่เหมือนเลือด
  • ข้าวที่เพิ่งหุงเสร็จ และยังไม่มีใครตักไปก่อน 
  • อาหารคาวต่างๆ เน้นอาหารไทย เช่น แกงส้ม ต้มยำ แกงเผ็ด หรือต้มจืด เป็นต้น 
  • ผลไม้มงคล เช่น ส้ม หรือ กล้วย เป็นต้น
  • ห้ามใช้ผลไม้ชื่อไม่เป็นมงคลมาถวายเด็ดขาด
  • ขนมหวานแบบไทยๆ เช่น ทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง เม็ดขนุน เป็นต้น
  • เครื่องหอม หรือของหอม เช่น น้ำอบไทย เป็นต้น

 

ก่อนทำการไหว้ศาลตายาย ควรทำความสะอาดพื้นและบริเวณโดยรอบทุกครั้ง จากนั้นให้นำของที่เตรียมถวาย มาจัดวางให้เรียบร้อย พร้อมด้วยจุดธูป 5 ดอก ต่อด้วยการกล่าวคำไหว้ ดังนี้

  • ตั้งนะโม 3 จบ 
  • กล่าวคาถา “อิติสุคโต อะระหังพุทโธ นะโมพุทธายะ ปฐวีคงคา พระภุมมะเทวา ขะมามิหัง” 
  • จากนั้นทำการกล่าวขอขมา และต่อด้วยการอธิษฐานขอพร
  • ปักธูปลงในกระถางธูปหรือของเส้นไหว้

 

หลังจากไหว้ศาลตายาย ให้สังเกตจนรูปหมดดอก ให้ทำการลาของไหว้จากศาลตายาย โดยกล่าวลาของไหว้กับศาลตายายดังนี้

  • ตั้งนะโม 3 จบ
  • กล่าวคาถา “เสสังมังคลัง ยาจามิ” ที่แปลว่า “ลูกขอส่วนที่เหลืออันเป็นมงคล เพื่อยังประโยชน์ เพื่อความสุขความเจริญ แก่ลูกด้วยเจ้าพระคุณ…” 
  • จากนั้นยกของไหว้ลง และนำมารับประทานกันในครอบครัวเพื่อความเป็นสิริมงคล

 

ของที่ใช้ถวายศาลตายาย

  • ผลไม้ ได้แก่ส้ม 4 ผล และผลไม้อื่นๆ ที่สามารถทานได้ง่าย เช่น กล้วย องุ่น ลิ้นจี่ ทับทิม ด้วยเชื่อว่าการถวายผลไม้หลายชนิด และเป็นชนิดที่สามารถทานได้ง่าย จะนำพามาซึ่งความสมบูรณ์ พร้อมรับสิ่งดีๆเข้ามา
  • อาหารคาวต่างๆ แนะนำให้เป็นอาหารไทย เช่น ต้มจืด ต้มยำ แกงต่างๆ และให้ถวายพร้อมข้าวสวย 
  • ขนมไทย เลือกขนมไทยที่มีรสหวาน เช่น ทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง 
  • น้ำดื่ม ควรเป็นน้ำดื่มที่สะอาด
  • หมาก พลู บุหรี่ หรือยาเส้น
  • พวงมาลัย หรือดอกไม้ 
  • ธูปและเทียน

 

ในการถวายของกับศาลตายายหรือศาลเจ้าที่ อาจมีความแตกต่างกันเล็กน้อย ขึ้นอยู่กับความเชื่อของแต่ละท้องถิ่น ทั้งนี้ของที่ใช้ถวายศาลตายายที่ได้บอกไปข้างต้น เป็นของถวายที่เป็นพื้นฐานที่จำเป็นต้องถวายให้ครบ (เรียนรู้เพิ่มเติม อุปกรณ์ศาลพระภูมิมีอะไรบ้างที่ต้องมีให้ครบ และไม่ควรมีอะไรบ้าง)

บทสวดสำหรับไหว้ศาล

ในการไหว้ศาลตายาย จะใช้ธูปจำนวน 7 ดอก โดยเริ่มจากตั้งนะโม 3 จบ แล้วกล่าวคำสวดดังนี้ “อิติสุคโต อะระหังพุทโธ นะโมพุทธายะ ปฐวีคงคา พระภุมมะเทวา ขะมามิหัง”

การขอขมาศาลตายาย

การขอขมานั้น จะทำเพื่อเป็นการเสริมดวงชะตา ให้ชีวิตประสบความสำเร็จ รุ่งเรือง และมีความก้าวหน้า โดยจะเริ่มจากตั้งนะโม 3 จบ แล้วกล่าวคำสวดดังนี้ “อิติสุคโต อะระหังพุทโธ นะโมพุทธายะ ปฐวีคงคา พระภุมมะเทวา ขะมามิหัง” หลังจากนั้นให้ทำความสะอาดศาล เพื่อเป็นการขอโทษ และขอให้สิ่งไม่ดีออกไปกับสิ่งสกปรกที่จะทำความสะอาดนั่นเอง

 

บทความที่เกี่ยวข้อง การไหว้ศาลตายาย ให้ถูกต้องตามหลักคนไทย ต้องเตรียมของไหว้อะไรบ้าง ?

บทสรุป

ความเชื่อเกี่ยวกับการตั้งศาลตายายนั้น แม้จะถือเป็นความเชื่อส่วนบุคคล แต่ก็ต้องยอมรับว่ามีการทำสืบต่อกันมาเป็นระยะเวลายาวนานตั้งแต่ในอดีตแล้ว และสำหรับการตั้งศาลเพื่อให้เป็นสิริมงคลก็ไม่ใช่เพียงซื้อศาลพระภูมิที่หรือศาลมา แล้วทำพิธีไว้ที่บ้านเท่านั้น แต่จะต้องดูแล ทำความสะอาด ถวายของไหว้อย่างสม่ำเสมอ เพื่อเป็นการแสดงความเคารพ และเป็นการเสริมความเป็นสิริมงคลให้กับทุกคนในบ้านนั่นเอง แต่ถ้าหากคุณต้องการคำแนะนำหรือต้องการปรึกษาสามารถติดต่อมาได้ที่ เมืองราชศาลพระภูมิ เพราะที่นี่มีให้บริการจำหน่าย ติดตั้งศาลพระภูมิโดยผู้เชี่ยวชาญ ที่นี่มีศาลพระภูมิหลากหลายประเภทให้เลือกซื้อ ทั้งศาลพระภูมิแบบดั้งเดิมและศาลพระภูมิโมเดิร์น โดยที่พร้อมจัดส่งให้ทั่วประเทศ